20cm M-M jumper wire 40 เส้น female to female สายไฟจัมเปอร์ ผู้ - ผู้ - อิเล็กทรอนิกส์/ไฟฟ้า red led
LOGIN   |   REGISTER    
VAT Included, TAX ID 1200600249391         แจ้งชำระเงิน
 
 
 
  STORE  
  PRODUCT  
  LEARNING  
  MEMBER  
  CONTACT  
    0   CART  
 
  0   ORDER
 
Untitled Document
 
เลือกหมวดหมู่สินค้า
 เครื่องกล / หุ่นยนต์
 อิเล็กทรอนิกส์ / ไฟฟ้า
 บอร์ด / คอนโทรลเลอร์
 เครื่องมือช่าง
 Package / ชุด KIT
 
   
 
 
 
20 cm F-F Jumper 40 เส้น
  รหัสสินค้า    BB502 
 
 อิเล็กทรอนิกส์ / ไฟฟ้า   สายไฟต่างๆ 
 
 GENERAL FEATUREs 
สายไฟจัมป์เปอร์ 20 cm ชุด 40 เส้น
• สามารถดึงแยกออกจากกันเป็นเส้นๆได้
• เมีย - เมีย
• 26 AWG
• ขนาดหัวเข็ม 2.54 mm
• ปลายสายไฟ Pin Header ต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้แน่นยิ่งขึ้น
• 10 สี ประกอบด้วย น้ำตาล แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน ม่วง เทา ขาว ดำ
 
Commnandrone's official store
 BUY IT NOW 
*ส่วนลด,แต้มสะสมและสิทธิพิเศษอื่นๆ สำหรับสั่งซื้อแบบสมัครสมาชิกเท่านั้น!
  ฿  35.00 THB
  / 1 ชุด
CMD Points 
10 Points   ทุกๆ 1 ชุด
Point มีไว้ทำไม? คลิก
ระบุจำนวน(ชุด)  
มีสินค้าพร้อมส่ง  
 
MANUAL! [คู่มือการใช้งาน]  
   
การนำไปใช้งาน
• สายไฟจัมเปอร์แบบ เมีย-เมีย เหมาะสำหรับใช้งานในวงจรทั่วๆไป หรือใช้กับอุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มี PIN ตัวผู้ เช่น บอร์ด Arduino Nano ที่ตัว Pin ของบอร์ดเป็นตัวผู้ และนอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับสายจัมป์แบบ ผู้-ผู้ เพื่อต่อเพิ่มความยาวของสายไฟ
• ขนาด 26 AWG สามารถทนกระแสสูงสุดได้ 2.2 A ถ้าต่อสายแบบ Chassis Wiring (ต่อแบบแยกสาย) ,สามารถทนกระแสได้ 0.36 A ถ้าต่อแบบ Power Transmission (รวมเป็นกระจุก)
 
ค่า AWG บอกอะไร?
ค่า AWG หรือ American Wire Gauge คือค่าที่เอาไว้บอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และการทนกระแสสูงสุดของสายไฟ ตามมารตฐานอเมริกัน โดยมีข้อสังเกตดังนี้..
• AWG มาก ,เส้นใหญ่
• AWG น้อย ,ทนกระแสได้มาก
ดังนั้น สรุปได้ว่าสายไฟที่มีค่า AWG น้อย คือสายไฟที่เส้นใหญ่ และทนกระแสได้มาก นั่นเอง
 
การเลือกใช้สายไฟ ควรพิจารณาจากกระแสสูงสุด ที่สายไฟสามารถทนได้ เพื่อความปลอดภัยกับวงจรและตัวผู้ใช้งาน โดยพิจารณาจากค่า AWG ของสายไฟ
 
 
 
ตารางเปรียบเทียบตัวอย่างค่า AWG บางค่า
AWG Conductor Diameter (mm) Resistance. (Ω/m) Maximum Current for Chassis Wiring (A) Maximum Current for 
Power Transmission (A)
0000 11.68 0.000161 380 302
000 10.40 0.000203 328 239
00 9.27 0.000256 283 190
0 8.25 0.000323 245 150
1 7.35 0.000407 211 119
2 6.54 0.000513 181 94
3 5.83 0.000647 158 75
4 5.19 0.000815 135 60
5 4.62 0.00103 118 47
10 2.59 0.00328 55 15
12 2.05 0.00521 41 9.3
14 1.63 0.00829 32 5.9
16 1.29 0.0132 22 3.7
18 1.02 0.0210 16 2.3
20 0.81 0.0333 11 1.5
22 0.64 0.0530 7 0.92
24 0.51 0.0842 3.5 0.577
26 0.40 0.134 2.2 0.361
28 0.32 0.213 1.4 0.266
30 0.25 0.339 0.86 0.142
*นอกจากนี้ ตาราง AWG แบบละเอียด จะบอกค่าความถี่สูงสุดที่ทนได้และค่าความแข็งแรงของสายไฟด้วย
 
จากตารางเป็นตัวอย่างค่า AWG บางค่าเท่านั้น อธิบายค่าต่างๆได้ดังนี้
• Conducter Diameter คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวนำภายในสายไฟ (เฉพาะตัวนำ ไม่รวมปลอกหุ้ม) ยิ่งค่า AWG มาก ตัวนำก็จะยิ่งใหญ่
• Resistane คือ ความต้านทานภายในสายไฟ ยิ่งสายไฟเส้นเล็ก ความต้านทานก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ความต้านทานนี้มีผลกับความสามาถในการจ่ายกระแสให้วงจร และค่าความต้านทานมากๆ ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้สายไฟทนกระแสได้น้อย
• Maximum Current for Chassis Wire คือ ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ทนได้ ตอนที่สายไฟเส้นนั้นแยกจากเส้นอื่น คำว่า Chassis Wire คือการต่อสายไฟแบบแยกนั่นเอง
• Maximum Current for Power Transmission คือ ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ทนได้ ตอนที่เอาสายไฟมารวมกันเป็นกระจุก
 
ข้อแตกต่างระหว่าง Chassis Wire กับ Power Transmission
• เนืองจากสายไฟมีความต้านทานภายใน เมื่อมีกระแสไหลผ่านจะเกิดความร้อนสะสมขึ้นมา ซึ่งจากตารางจะเห็นได้ชัดเจนว่า การต่อสายไฟแบบ Chassis Wire จะสามารถทนกระแสได้มากกว่า Power Transmition เพราะแบบ Chassis Wire ,สายไฟแต่ละเส้น จะแยกจากกัน ทำให้ผิวของปลอกหุ้มสัมผัสกับอากาศได้มากกว่า บางครั้งอาจเรียกว่า Free Air Wiring จึงทำให้สายไฟมีการระบายความร้อนได้ดีกว่า จึงทนกระแสได้มากกว่าด้วย
ในขณะที่การต่อสายไฟแบบ Power Transmition ซึ่งเป็นการต่อสายไฟแบบเป็นกระจุก ,สายแต่ละเส้นจะสัมผัสกับอากาศไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเส้นที่อยู่ข้างในสุดอาจไม่ได้สัมผัสกับอากาศ จึงทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี และทนกระแสได้น้อย
 
Power Transmition Wiring
 
แต่ทั้งนี้ การต่อวงจรใช้งานจริงๆ อาจจะต้องต่อสายไฟทั้งแบบ Chassis Wire และ Power Transmission โดยเฉพาะสายไฟที่เชื่อมกับแหล่งจ่าย จะเป็นส่วนที่จะมีกระแสไหลผ่านมากที่สุด ควรใช้เกณฑ์การทนกระแสตามแบบ Power Transmission เพื่อความปลอดภัย และส่วนย่อยอื่นๆในวงจร จะมีการแบ่งกระแสกันไป และต่อสายเดี่ยวๆได้ ก็สามารถใช้เกณฑ์การทนกระแสแบบ Chassis Wire ได้ จะได้ไม่ต้องใช้สายไฟเส้นใหญ่ๆทั้งวงจร เป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
 
ความยาวของสายก็มีผลกับการทนกระแส
จริงๆแล้ว นอกจากขนาดความโตของสายแล้ว ความยาวก็มีผลด้วย เพราะสาเหตุหลักที่ทำให้สายไฟมีค่าจำกัดการทนกระแส เพราะค่าความต้านทานในสายไฟ คือถ้าสายไฟเส้นใหญ่ ความต้านทานจะยิ่งน้อย จึงทนกระแสได้มาก แต่ถ้าเราจำเป็นต้องใช้สายยาวมาก ก็จะมีความต้านทานสะสมมาก เราจึงต้องเพิ่มขนาดความโตของสายไฟเข้าไปอีก (ลดค่า AWG) แต่ทั้งนี้ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆไป จะไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟยาวมากนัก ก็ยังสามารถยึดค่า AWG ตามตารางด้านบนได้อยู่ ยังไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องผลกระทบจากความยาวของสายไฟ
 
 
 
    SPONSORs
     
 
 
 Related Products 
20 cm F-F Jumper
สายจัมป์เปอร์ เมีย - เมีย (1 เส้น)
• หัวเหลี่ยมเสียบแน่น
• 26 AWG 20 cm
• คละสี** (ทางร้านจะเลือกสีให้)
฿  3.00 THB
ต่อ 1 เส้น
     
 
 
  Untitled Document
  COMMENTS   0  
 
Your Name
Your Comments...
 
   
 
 
   
 
 
 
         
     
 
 
MAIN MENU
Yor are going to visit...
 
STORE
Homepage & News
PRODUCT
Shopping at our store
LEARNING
Tutorials & How to
MEMBER
Become our client
CONTACT
Getting more information
 
 
CONTACT
Contact Commandrone
 
083-012-1146
Bangsue, Bangkok
Commandrone Page
Commandrone Channel
thai.commandrone@gmail.com
commandronestore.com
 
PRE ORDER
สั่งจอง จัดหาและนำเข้าสินค้า
รับจัดหา และนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้อง สั่งจองสินค้าที่หมด Stock พร้อมรับการเสนอราคาพิเศษกว่าใคร!!
 
 
ติดต่อสอบถาม / ขอใบเสอราคา
Information & Quotation
หรือทาง thai.commandrone@gmail.com
โทรศัพท์ 083-012-1146, Line ID : Pondlaser
 
 
  1344 Pageviews today (Approximately)
  21225  Product views
 
  Pre-Order Now
   
 
     
 
www.commandronestore.com
© 2016 Commandrone All Rights Reserved